เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ ห้องเจ้าพระยาบอลรูม โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพ ฯ พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิด “การประชุมระดับภูมิภาคอาเซียนว่าด้วย การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและการคุ้มครองพยาน (Southeast Asia Regional Conference on Legal Aid and Witness Protection) ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๘ – ๑๙ สิงหาคม และมี นางกรรณิการ์ แสงทอง อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กล่าวรายงาน
สำหรับการจัดการประชุมในครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและการคุ้มครองพยานจากผู้เชี่ยวชาญและผู้แทนจากประเทศสมาชิก อาเซียน พร้อมรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม นักวิชาการและภาคประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนางานด้านการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและการคุ้มครองพยานในประเทศไทย พร้อมพิจารณาแนวทางความร่วมมือในการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและการคุ้มครองพยานในระดับภูมิภาคอาเซียน โดยภายในงานจัดให้มีการประชุมในหัวข้อและประเด็นทางวิชาการที่น่าสนใจ ดังนี้
วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๙
• หัวข้อ “การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย และการคุ้มครองพยานในภูมิภาคอาเซียน” (Legal Aid and Witness Protection in South-East Asia Region) โดยมี ดร. เสรี นนทะสูติ ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และ Ms. Noriko Shibata Crime Prevention and Criminal Justice Officer และ รองศาสตราจารย์ณรงค์ ใจหาญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
• การประชุมกลุ่มย่อย
- ห้องที่ ๑ ประเด็น “การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย (Legal Aid)” โดย ผู้แทนจากประเทศในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ ผู้แทนจากประเทศอินโดนิเซีย บรูไน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ เวียดนามนำเสนอแนวทางในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนในประเทศของตน รวมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการดำเนินงานในประเทศต่างๆ ผู้ดำเนินรายการ นายพิทยา จินาวัฒน์ ที่ปรึกษาด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
- ห้องที่ ๒ ประเด็น “การคุ้มครองพยาน (Witness Protection)” นำเสนอแนวทางในการคุ้มครองพยานในประเทศของตน รวมทั้งการนำเสนอภาพรวมการคุ้มครองพยานในประเทศไทย รวมทั้ง ผลการศึกษาวิจัยแนวทางการคุ้มครองพยานข้ามพรมแดน ร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนาการดำเนินงานในประเทศต่าง ๆ โดย ผู้แทนจากประเทศในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ บรูไน อินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย นำโดย นายไพฑูรย์ สว่างกมล ที่ปรึกษาสำนักงานคุ้มครองพยาน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และ ดร. น้ำแท้ บุญมีสล้าง อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้ดำเนินรายการ นางสุนารี เมดดราลา เจ้าหน้าที่ล่ามแปลสถาบันระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า “หลักการและแนวปฏิบัติแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเข้าถึงความช่วยเหลือด้านกฎหมายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เป็นหลักการสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศต่างๆ นำไปใช้กำหนดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย แก่ประชาชนได้ในทุกมิติ สำหรับการกำหนดนโยบายและบัญญัติกฎหมายภายในประเทศไทยนั้น ได้นำหลักการสิทธิมนุษยชนสากลมาพิจารณาประกอบกับบริบทของประเทศเสมอ โดยนโยบายในการอำนวยความยุติธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของคนในสังคมเป็นนโยบายสำคัญที่รัฐบาลให้ความสำคัญมาโดยตลอด ซึ่งได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่จัดบริการเพื่อให้ความช่วยเหลือ คุ้มครอง และเยียวยาแก่ประชาชน ซึ่งกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพถือเป็นหนึ่งในองค์กรหลักที่มีภารกิจในการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองประชาชน โดยด้านการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายจะครอบคลุมตั้งแต่ต้นทาง คือการให้ความรู้ด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชนแก่ประชาชน กลางทาง คือ การคุ้มครองและช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย เช่น การประกันตัว และการช่วยเหลือทางคดีผ่านทางกองทุนยุติธรรม และปลายทาง คือ เยียวยาผู้เสียหาย หรือ เหยื่อในคดีอาชญากรรม โดยมีการกระจายอำนาจไปยังระดับภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน สำหรับด้านการคุ้มครองพยานนั้น กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โดยสำนักงานคุ้มครองพยาน เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งเป็นการที่รัฐรับรองหลักประกันความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ ล่าสุดกระทรวงยุติธรรมอยู่ระหว่างการทบทวนเพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาลที่จะช่วยคุ้มครองและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน”
นางกรรณิการ์ แสงทอง อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เปิดเผยว่า “การประชุมระดับภูมิภาคอาเซียนว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและการคุ้มครองพยาน ในครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการที่สหประชาชาติได้รับรอง “หลักการและแนวปฏิบัติแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเข้าถึงความช่วยเหลือด้านกฎหมายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา” เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ เพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศต่าง ๆ นำไปใช้กำหนดนโยบาย กฎหมาย กฎ ระเบียบ และมาตรการต่างๆ ภายในประเทศ ในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายตลอดทั้งกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ในชั้นก่อนการพิจารณาคดี ระหว่างการพิจารณาคดี และหลังการพิจารณาคดี ซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับภารกิจของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โดยเฉพาะภารกิจในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย และการคุ้มครองพยาน ดังนั้น เพื่อเป็นการพัฒนางานด้านการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและการคุ้มครองพยานในประเทศไทย กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จึงได้จัดการประชุมในครั้งนี้ขึ้น โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนจากประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียนมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต้นแบบที่ดี (Best Practice) ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติของประเทศต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย และการคุ้มครองพยาน อันเป็นโอกาสอันดีที่จะได้เรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งหารือในเบื้องต้นถึงแนวทางการจัดการปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะการคุ้มครองพยานข้ามพรมแดน อีกทั้งการประชุมในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างเครือข่ายเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ ในภูมิภาคต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุมฯ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้แทนจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้แทนจากสถานทูตประเทศต่างๆ ในประเทศไทย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ ฯลฯ จำนวน ๒๐๐ คน”
และในวันศุกร์ที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๐๐ น. นางกรรณิการ์ แสงทอง อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เป็นประธานการประชุมระดับภูมิภาคอาเซียนว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและการคุ้มครองพยาน (Southeast Asia Regional Conference on Legal Aid and Witness Protection) ยกระดับมาตรฐานสู่สากล (ด้านการคุ้มครองพยานในประเทศไทย) ซึงในวันนี้ได้มีการประชุมเกี่ยวกับการคุ้มครองพยานในประเทศไทย เกี่ยวกับ ภารกิจ แนวปฏิบัติ และการแสดงตัวอย่างกรณีศึกษาของประเทศไทย อาทิ การคุ้มครองพยานคดีค้ามนุษย์ ความเป็นมาของแผนพัฒนา ระบบการคุ้มครองพยานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงการร่วมหารือเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือในการคุ้มครองพยาน ข้ามพรมแดนในอาเซียน ทั้งนี้ เพื่อผลักดันและขับเคลื่อนให้ทุกหน่วยงานสามารถขอใช้บริการงานคุ้มครองพยานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสมตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
******************************
กลุ่มงานช่วยอำนวยการและสื่อสารองค์กร สำนักงานเลขานุการกรม
๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๙ / อุษา,พบพร,มนัส-ภาพ,วรวุฒิ-ข่าว
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ ห้องเจ้าพระยาบอลรูม โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพ ฯ พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิด “การประชุมระดับภูมิภาคอาเซียนว่าด้วย การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและการคุ้มครองพยาน (Southeast Asia Regional Conference on Legal Aid and Witness Protection) ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๘ – ๑๙ สิงหาคม และมี นางกรรณิการ์ แสงทอง อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กล่าวรายงาน
สำหรับการจัดการประชุมในครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการ ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและการคุ้มครองพยานจากผู้เชี่ยวชาญและผู้แทนจากประเทศสมาชิก อาเซียน
/พร้อมรับฟัง...
พร้อมรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม นักวิชาการและภาคประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนางานด้านการให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมายและการคุ้มครองพยานในประเทศไทย พร้อมพิจารณาแนวทางความร่วมมือในการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและการคุ้มครองพยานในระดับภูมิภาคอาเซียน โดยภายในงานจัดให้มีการประชุมในหัวข้อและประเด็นทางวิชาการที่น่าสนใจ ดังนี้
วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๙
• หัวข้อ “การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย และการคุ้มครองพยานในภูมิภาคอาเซียน” (Legal Aid and Witness Protection in South-East Asia Region) โดยมี ดร. เสรี นนทะสูติ ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และ Ms. Noriko Shibata Crime Prevention and Criminal Justice Officer และ รองศาสตราจารย์ณรงค์ ใจหาญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
• การประชุมกลุ่มย่อย
- ห้องที่ ๑ ประเด็น “การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย (Legal Aid)” โดย ผู้แทนจากประเทศในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ ผู้แทนจากประเทศอินโดนิเซีย บรูไน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ เวียดนามนำเสนอแนวทางในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนในประเทศของตน รวมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการดำเนินงานในประเทศต่างๆ ผู้ดำเนินรายการ นายพิทยา จินาวัฒน์ ที่ปรึกษาด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
- ห้องที่ ๒ ประเด็น “การคุ้มครองพยาน (Witness Protection)” นำเสนอแนวทางในการคุ้มครองพยานในประเทศของตน รวมทั้งการนำเสนอภาพรวมการคุ้มครองพยานในประเทศไทย รวมทั้ง ผลการศึกษาวิจัยแนวทางการคุ้มครองพยานข้ามพรมแดน ร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนาการดำเนินงานในประเทศต่าง ๆ โดย ผู้แทนจากประเทศในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ บรูไน อินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย นำโดย นายไพฑูรย์ สว่างกมล ที่ปรึกษาสำนักงานคุ้มครองพยาน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และ ดร. น้ำแท้ บุญมีสล้าง อัยการจังหวัด ประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้ดำเนินรายการ นางสุนารี เมดดราลา เจ้าหน้าที่ล่ามแปล สถาบันระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตากฎหมาย
พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า “หลักการและแนวปฏิบัติแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเข้าถึงความช่วยเหลือด้านกฎหมายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เป็นหลักการสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศต่างๆ นำไปใช้กำหนดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย แก่ประชาชนได้ในทุกมิติ สำหรับการกำหนดนโยบายและบัญญัติกฎหมายภายในประเทศไทยนั้น ได้นำหลักการสิทธิมนุษยชนสากลมาพิจารณาประกอบกับบริบทของประเทศเสมอ โดยนโยบายในการอำนวยความยุติธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของคนในสังคมเป็นนโยบายสำคัญที่รัฐบาลให้ความสำคัญ มาโดยตลอด ซึ่งได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่จัดบริการเพื่อให้ความช่วยเหลือ คุ้มครอง และ
/เยียวยา...
เยียวยาแก่ประชาชน ซึ่งกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพถือเป็นหนึ่งในองค์กรหลักที่มีภารกิจในการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองประชาชน โดยด้านการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายจะครอบคลุมตั้งแต่ต้นทาง คือการให้ความรู้ด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชนแก่ประชาชน กลางทาง คือ การคุ้มครองและช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย เช่น การประกันตัว และการช่วยเหลือทางคดีผ่านทางกองทุนยุติธรรม และปลายทาง คือ เยียวยาผู้เสียหาย หรือ เหยื่อในคดีอาชญากรรม โดยมีการกระจายอำนาจไปยัง ระดับภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน สำหรับด้านการคุ้มครองพยานนั้น กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โดยสำนักงานคุ้มครองพยาน เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งเป็นการที่รัฐรับรองหลักประกันความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ ล่าสุดกระทรวงยุติธรรมอยู่ระหว่างการทบทวนเพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความ ตั้งใจจริงของรัฐบาลที่จะช่วยคุ้มครองและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน”
นางกรรณิการ์ แสงทอง อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เปิดเผยว่า “การประชุมระดับภูมิภาคอาเซียนว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและการคุ้มครองพยาน ในครั้งนี้ สืบเนื่องมาจาก การที่สหประชาชาติได้รับรอง “หลักการและแนวปฏิบัติแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเข้าถึงความช่วยเหลือ ด้านกฎหมายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา” เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ เพื่อเป็นแนวทาง ให้ประเทศต่าง ๆ นำไปใช้กำหนดนโยบาย กฎหมาย กฎ ระเบียบ และมาตรการต่างๆ ภายในประเทศ ในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายตลอดทั้งกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ในชั้นก่อนการพิจารณาคดี ระหว่างการพิจารณาคดี และหลังการพิจารณาคดี ซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับภารกิจของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โดยเฉพาะภารกิจในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย และการคุ้มครองพยาน ดังนั้น เพื่อเป็นการพัฒนางานด้านการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและการคุ้มครองพยานในประเทศไทย กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จึงได้จัดการประชุมในครั้งนี้ขึ้น โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนจากประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียนมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต้นแบบที่ดี (Best Practice) ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติของประเทศต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านการให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมาย และการคุ้มครองพยาน อันเป็นโอกาสอันดีที่จะได้เรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งหารือในเบื้องต้นถึงแนวทางการจัดการปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะการคุ้มครองพยานข้ามพรมแดน อีกทั้งการประชุมในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างเครือข่ายเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ ในภูมิภาคต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุมฯ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้แทนจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้แทนจากสถานทูตประเทศต่างๆ ในประเทศไทย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ ฯลฯ จำนวน ๒๐๐ คน”
และในวันศุกร์ที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๐๐ น. นางกรรณิการ์ แสงทอง อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เป็นประธานการประชุมระดับภูมิภาคอาเซียนว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและการคุ้มครองพยาน (Southeast Asia Regional Conference on Legal Aid and Witness Protection) ยกระดับมาตรฐานสู่สากล (ด้านการคุ้มครองพยานในประเทศไทย) ซึงในวันนี้ได้มีการประชุมเกี่ยวกับการคุ้มครองพยานในประเทศไทย เกี่ยวกับ ภารกิจ แนวปฏิบัติ และการแสดงตัวอย่างกรณีศึกษา
/ของประเทศไทย...
ของประเทศไทย อาทิ การคุ้มครองพยานคดีค้ามนุษย์ ความเป็นมาของแผนพัฒนา ระบบการคุ้มครองพยาน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงการร่วมหารือเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือในการคุ้มครองพยาน ข้ามพรมแดนในอาเซียน ทั้งนี้ เพื่อผลักดันและขับเคลื่อนให้ทุกหน่วยงานสามารถขอใช้บริการงานคุ้มครองพยานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสมตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
******************************
กลุ่มงานช่วยอำนวยการและสื่อสารองค์กร สำนักงานเลขานุการกรม
๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๙ / อุษา,พบพร,มนัส-ภาพ,วรวุฒิ-ข่าว